วันอาทิตย์ที่ 5 มกราคม พ.ศ. 2557

5 ตัวเก็บประจุ คาปาซิเตอร์ Capacitor

ตัวเก็บประจุ หรือ คาปาซิเตอร์ C มีสัญลักษณ์ ดังรูปด้านล่าง
จะเห็นได้ว่า มีรูปหลายหลากแตกต่างกันอยู่บ้าง ทั้งนี้ก็เพราะ ชนิดหรือรูปแบบของตัวเก็บประจุ  นั้น มีมากหมายหลากหลายอยู่พอสมควรดังรูปอุปกรณ์จริงด้านล่าง


ก่อนอื่นมารู้หลักการทำงานของมันก่อนดีกว่า
ตามชื่อของมัน ว่าตัวเก็บประจุ   ดังนั้น หน้าที่ของมัน ก็คือ การ เก็บไฟไว้ในตัวชั่วคราว และคายไฟออกมา เมื่อวงจรอุปกรณ์แวดล้อมต้องการ
ในด้านอิเลคทรอนิคส์ มักถูกออกแบบใช้ ในการกรองไฟ , ตัดหรือลดสัญญาณรบกวน กรองคลื่นความถี ที่ต้องการ หรือไม่ต้องการเข้าวงจร
สิ่งที่ ต้องรู้ในการซื้อหามาใช้คือ
1 ขนาดความจุ หน่วยเป็น ฟาหรัด
แต่ในการใช้ จริงหน่วยฟาหรัดนั้น จะใหญ่มาก  สิ่งที่พบเห็นจะอยู่ในหน่วยของ
uF  ไมโครฟาหรัด  =  1  ในล้านส่วนของ ฟาหรัด
nF  นาโนฟาหรัด   =   1  ใน พันล้านส่วนของ ฟาหรัด

pF  พิโคฟาฟรัด   =    1  ในล้านล้านส่วนของ ฟาหรัด

2  ขนาดโวลต์ที่ใช้งาน หรือทนได้
อีกส่วนที่ต้องระบุในการซื้อมาใช้คือ ค่าโวลต์  โดยต้องมีค่าไม่น้อยกว่าที่วงจรระบุไว้

3 สิ่งที่สาม เป็นส่วนพิเศษที่ ผู้ออกแบบวงจร อาจระบุไว้คือ ชนิดหรือวัสดุ ของ ตัวเก็บประจุ
 เช่น แทนทาลั่ม เซรามิก หรืออื่นๆ    ถ้าไม่ระบุเป็นพิเศษ ก็ใช้แบบใดที่มีขายได้ตามกำลังทรัพย์
 

**ตัวเก็บประจุ บางชนิดจะมีขั้วดังนั้น จะต้องระวัดระวัง ต่อให้ถูกขั้วบวกลบ ในการใช้งาน
หากต่อผิดอาจระเบิดได้
ส่วนบางชนิดที่ไม่มีขั้ว เราก็สามารถต่อเข้าวงจรในทิศทางใดก็ได้เช่นเดียวกับ ตัวตานท้าน ที่ จะเป็นอุปกรณ์ที่ไม่มีขั้ว
















ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น