ตัวต้านทาน Resistor รีซิสเตอร์ (2)
สำหรับหน่วยที่ใช้จริงของตัวต้านทานที่จะพบเจอบ่อยๆในวงจรนั้นมีดังนี้คือ
Ω โอห์ม
KΩ กิโลโอห์ม หรือ เคโอห์ม = พัน โอห์ม
MΩ เมกกะโอหม์ = ล้าน โอห์ม
ตัวอย่างเช่น 1 KΩ = 1พันโอห์ม 5 KΩ = ห้าพันโอห์ม 22KΩ = ยี่สิบสองพัน โอห์ม หรือ สองหมื่นสองพัน โอหม์นั่นเอง
100KΩ = หนึ่งแสนโอหม์
5 MΩ = 5 ล้านโอหม์
เวลาไปซื้อ ตามร้านค้า มักจะพูดกันสั้นๆ เช่น อาร์ 10 เค ก็คือ ตัวต้านทาน ค่า 10KΩ นั่นเอง
อีกหน่วยเรียกหรือค่าที่ควรรู้ของตัวต้านทาน คือ ค่า วัตต์ นั่นคือ ค่าพลังงาน หรือ ความร้อนที่มันจะทนได้
เมื่ออยู่ในวงจรเมื่อมีกระแสไหลผ่านตัวต้านทาน จะมีค่าความร้อน เกิดขึ้นในตัวมันเสมอ การเลือกซื้อ
ต้องใช้ตามที่ระบุในวงจร ไม่ควรต่ำกว่าที่ระบุ เช่น ระบุไว้ว่า 0.5 วัตต์ (W) ก็ไม่ควรซื้อค่าที่ต่ำกว่า แต่ใข้สูงกว่าได้ ถ้าหาแล้วไม่มี
ค่าสุดท้ายคือ ค่าเปอร์เซนต์ จะหมายถึงค่าความคลาดเคลื่อนจากค่าที่ระบุ ที่ยอมได้ของ
ตัวต้านทาน ค่าที่ใช้ในวงจรทั่วไป คือ 5% , ค่า 1-2% มีให้เลือกซื้อแต่จะแพงกว่า
มักถูกใช้ในวงจรที่ต้องการความเที่ยงตรงสูงเป็นพิเศษ
สรุป ค่าที่ต้องทราบในการซื้อ ตัวต้านทาน คือ โอหม์ วัตต์(ออกเสียงว่า หวัด)และเปอร์เซนต์
เช่น R 33 K 1 W 5% = ตัวต้านทาน 33,000 โอหม์ 1 วัตต์ 5 เปอร์เซนต์
สำหรับที่ตัวต้านทานที่ซื้อมาแล้ว จะไม่ระบุค่าเป็นตัวเลข แต่จะเป็นขีดรหัสสีดังภาพที่แสดงไว้ในบทความที่แล้ว
สำหรับการถอดรหัสออกมาเป็นค่าตัวเลขนั่น ยุ่งยากพอควร แต่ถ้าท่านมี มือถือ แอนดรอยู่ก็สามารถไปโหลด
โปรแกรม ถอดรหัสมาได้ โดย ค้นหาใน Google Play ด้วยคำว่า Resistor color code
* ค่าตัวต้านทานที่มีขายไม่ได้มีทุกค่าตัวเลข เช่น 4,120, 350,700 อาจจะไม่มีขาย เราต้องพิจารณาซื้อค่าใกล้เคียงแทน
ในวงจรบางชนิด ผู้ออกแบบ อาจระบุชนิด ของวัสดุที่ใช้สร้างตัวต้านทานไว้ด้วยเช่น แบบเซรามิก กระเบื้อง ลวดพันหรืออื่นๆทั้งนี้ ควรใช้ตามที่บอกไว้ แต่ถ้าไม่ระบุไว้เป็นพิเศษ ก็ใช้แบบธรรมดาได้
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น